Home / จริยธรรมทางสารสนเทศ - FBI & Apple

จริยธรรมทางสารสนเทศ - FBI & Apple

You are not logged in.

If you are a current student, please Log In for full access to this page.

ภาพจาก https://ethicsunwrapped.utexas.edu/case-study/fbi-apple-security-vs-privacy

Table of Contents

1) Self-study ก่อนกิจกรรม

  1. พูดคุยกรณีศึกษา วิธีโกหกด้วยสถิติ https://www.facebook.com/mathasitis/posts/362098722156417
  2. ดูคลิปวีดีโอเรื่อง incrementalism https://www.youtube.com/watch?v=ky2sAsLUKeo

2) กรณีศึกษา: ความปลอดภัย vs. ความเป็นส่วนตัว ข้อพิพาทระหว่าง FBI และ Apple

In December 2015, the FBI attained the iPhone of one of the shooters in an ISIS-inspired terrorist attack that killed 14 people in San Bernardino, California. As part of the investigation, the FBI attempted to gain access to the data stored on the phone but was unable to penetrate its encryption software. Lawyers for the Obama administration approached Apple for assistance with unlocking the device, but negotiations soon broke down. The Justice Department then obtained a court order compelling Apple to help the FBI unlock the phone. Apple CEO, Timothy Cook, publicly challenged the court in an open letter, sparking an intense debate over the balance between maintaining national security and protecting user privacy.

ในเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2015 FBI ได้รับโทรศัพท์ iPhone ของหนึ่งในมือปืนจากเหตุการณ์ก่อการร้ายที่เกี่ยวเนื่องกับองค์กร ISIS ซึ่งพรากชีวิตคนทั้งสิ้น 14 คน ในบริเวณ San Bernardino, California ในกระบวนการสืบสวนนั้น FBI พยายามที่จะเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ภายในโทรศัพท์ แต่ไม่สามารถข้ามผ่านระบบเข้ารหัสได้ ทนายความหลายคนในรัฐบาลของ Obama ขอความร่วมมือไปยังบริษัท Apple เพื่อที่จะปลดล็อกโทรศัพท์เครื่องนั้น แต่หลังจากนั้นไม่นานการเจรจาก็ล้มเหลว ต่อมา กระทรวงยุติธรรมได้รับหมายศาลที่บังคับสั่งให้บริษัท Apple ช่วยเหลือ FBI ในการปลดล็อกโทรศัพท์ Timothy Cook ซึ่งเป็น CEO ของบริษัท Apple ต่อต้านหมายศาลอย่างสาธารณะผ่านจดหมายเปิดผนึก ทำให้เกิดการโต้วาทีที่เข้มข้นในหัวข้อการบริหารระหว่างการรักษาความปลอดภัยของประเทศและการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน

Apple and its supporters, including top technology companies such as Google and Facebook, made the case on several fronts that the court order threatened the privacy of all individuals. First, according to Apple, the order effectively required the company to write code, violating its First Amendment right to free speech by forcing the company to “say” something it did not want to say. Previous court cases had already established computer code as legally protected speech. Second, such a backdoor, once created, could fall into the wrong hands and threaten the privacy of all iPhone owners. Finally, it would set a dangerous precedent; law enforcement could repeatedly require businesses such as Apple to assist in criminal investigations, effectively making technology companies an agent of government.

บริษัท Apple และผู้สนับสนุนรวมถึงบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Google และ Facebook แจงความต่อหลายภาคส่วนว่าหมายศาลนั้นข่มขู่ความเป็นส่วนตัวของบุคคลโดยรวม ประเด็นแรก จากข้อมูลของบริษัท Apple คำสั่งศาลบังคับให้บริษัทเขียนโค้ดที่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิ์เกี่ยวกับอิสระในการพูดใน First Amendment โดยบังคับให้บริษัท “พูด” ในบางสิ่งที่บริษัทไม่ต้องการจะพูด หมายศาลก่อนหน้าได้ตีความไว้ว่าโค้ดคอมพิวเตอร์นั้นถูกปกป้องตามกฎหมายเสมือนกับคำพูด ประเด็นที่สอง หากช่องทางพิเศษที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อปลดล็อกนี้ เกิดการั่วไหลไปยังผู้ไม่ประสงค์ดีก็จะมีโอกาสที่ช่องทางนี้จะสร้างความเสียหายและเป็นการขมขู่ความเป็นส่วนตัวของเจ้าของ iPhone ทั้งหมด และสุดท้าย นี่จะเป็นมาตรฐานที่อันตรายต่อคดีถัด ๆ ไป การบังคับทางกฎหมายจะสามารถบังคับให้ภาคธุรกิจ เช่น บริษัท Apple ให้ช่วยเหลือในการสอบสวนอาชญากรรม ซึ่งมีผลทำให้บริษัทเทคโนโลยีเปรียบเหมือนพนักงานของรัฐบาล

Representatives from both sides of the political aisle offered several arguments in favor of the Justice Department’s efforts and against Apple’s stance. Their central claim was that the U.S. legal system establishes constraints on the government’s access to private information which prevent abuse of search and surveillance powers. At the same time, the law still allows authorities to gain access to information that facilitates prevention and prosecution of criminal activities, from terrorism to drug trafficking to child pornography. Critics of Apple also rejected the slippery slope argument on the grounds that, if Apple cooperated, it could safeguard the code it created and keep it out of the hands of others, including bad actors such as terrorists or criminal groups. Moreover, Apple was accused of being too interested in protecting its brand, and even unpatriotic for refusing to comply with the court order.

ตัวแทนจากสองขั้วการเมืองเสนอหลายความเห็นที่สนับสนุนความพยายามของกระทรวงยุติธรรมและต่อต้านจุดยืนของบริษัท Apple ข้อโต้แย้งหลักของพวกเขาคือระบบทางกฎหมายของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดขีดจำกัดของรัฐบาลในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวแล้ว ซึ่งป้องกันการใช้อำนาจในการสืบค้นและสอดส่องในทางที่ผิด ในขณะเดียวกัน กฎหมายขณะนั้นอนุญาตให้ผู้มีอำนาจเข้าถึงข้อมูลที่ช่วยเหลือในการป้องกันและปราบปรามเหตุการณ์อาชญากรรม ตั้งแต่การก่อการร้ายจนถึงการลักลอบค้ายารวมถึงสื่อลามกเด็ก การวิจารณ์ยังโต้แย้งข้ออ้าง slippery slope ของบริษัท Apple โดยให้เหตุผลว่า ถ้าหากบริษัท Apple ให้ความร่วมมือ บริษัทอาจสามารถปกป้องโค้ดที่สร้างขึ้นมาและรักษาให้ไม่ถูกใช้งานโดยผู้อื่นได้ รวมถึงผู้ไม่ประสงค์ดี เช่น ผู้ก่อการร้ายหรือกลุ่มคนผิดกฎหมาย นอกจากนี้ บริษัท Apple ยังถูกกล่าวหาว่ามีความสนใจจะป้องกันแบรนด์ของตัวเองมากเกินไป และยังไม่รักชาติที่จะปฏิเสธการให้ความร่วมมือตามหมายศาลอีกด้วย

Ultimately, the FBI dropped the case because it was able to circumvent the encryption on the iPhone without Apple’s help.

ท้ายที่สุด FBI ยกเลิกหมายศาลเนื่องจากสามารถหลีกเลี่ยงระบบเข้ารหัสบน iPhone ได้ โดยไม่ต้องใช้ความช่วยเหลือจากบริษัท Apple

3) คำถามอภิปราย

  1. What harms are potentially produced by the FBI’s demand that Apple help it open an iPhone? What harms are potentially produced by Apple’s refusal to help the FBI?
  2. Do you think Apple had a moral obligation to help the FBI open the iPhone in this case because it involved terrorism and a mass shooting? What if the case involved a different type of criminal activity instead, such as drug trafficking? Explain your reasoning.
  3. Apple argued that helping to open one iPhone would produce code that could be used to make private information on all iPhones vulnerable, not only to the American government but also to other foreign governments and criminal elements. Do you agree with Apple’s “slippery slope” argument? Does avoiding these harms provide adequate justification for Apple’s refusal to open the phone, even if it could reveal crucial information on the terrorist shooting?
  4. Politicians from across the political spectrum, including President Obama and Senator Ted Cruz, argued that technology preventing government access to information should not exist. Do you agree with this limit on personal privacy? Why or why not?
  5. Ultimately, the FBI gained access to the iPhone in question without the help of Apple. Does this development change your assessment of the ethical dimensions of Apple’s refusal to help the FBI? Why or why not? Should the FBI share information on how it opened the iPhone with Apple so that it can patch the vulnerability? Explain your reasoning.

  1. อันตรายใดที่สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งที่ FBI เรียกร้องให้บริษัท Apple ช่วยเปิดการใช้งาน iPhone เครื่องหนึ่ง อันตรายใดที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการที่บริษัท Apple ปฏิเสธที่จะช่วยเหลือ FBI
  2. นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ว่า หากคำนึงถึงจิตสำนึกทางจริยธรรม บริษัท Apple ควรช่วยเหลือ FBI ในการเปิด iPhone เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายและการสังหารหมู่ แล้วนักเรียนคิดเห็นอย่างไร หากเป็นสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมประเภทอื่น เช่น การลักลอบค้ายา จงอธิบายเหตุผล
  3. บริษัท Apple โต้แย้งว่าการช่วยเปิด iPhone หนึ่งเครื่องจะสร้างโค้ดที่ส่งผลต่อความเสี่ยงของข้อมูลส่วนตัวใน iPhones ทุกเครื่อง โดยไม่ใช่แค่สำหรับรัฐบาลอเมริกาแต่รวมไปถึงรัฐบาลต่างชาติและภาคอาชญากรรมอีกด้วย นักเรียนเห็นด้วยกับความเห็นกรณี “slippery slope” ของบริษัท Apple หรือไม่ การหลีกเลี่ยงภัยเหล่านี้เป็นเหตุผลที่เพียงพอหรือไม่ที่บริษัท Apple จะปฏิเสธการช่วยเปิด iPhone ถึงแม้ว่ามันอาจสามารถเปิดโปงข้อมูลสำคัญในอาชญากรรมครั้งนี้ได้
  4. นักการเมืองจากหลายระดับรวมถึงประธานาธิบดี Obama และ Senator Ted Cruz โต้แย้งว่าเทคโนโลยีที่ขัดขวางรัฐบาลในการเข้าถึงข้อมูลนั้นไม่ควรมีอยู่ นักเรียนเห็นด้วยกับขีดจำกัดนี้ในแง่ของความเป็นส่วนตัวของบุคคลหรือไม่ อย่างไร
  5. สุดท้ายนี้ FBI สามารถเข้าถึง iPhone ดังกล่าวได้โดยไม่มีการช่วยเหลือจากบริษัท Apple ความคืบหน้านี้เปลี่ยนความคิดของนักเรียนในแง่จริยธรรมสำหรับการปฏิเสธของบริษัท Apple ที่จะให้ความช่วยเหลือ FBI หรือไม่ อย่างไร FBI ควรจะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเปิด iPhone กับบริษัท Apple เพื่อที่จะป้องกันความเสี่ยงนี้หรือไม่ จงอธิบายเหตุผล

4) วีดีโอที่เกี่ยวข้อง

Incrementalism

Referred to as the slippery slope, incrementalism describes how we unconsciously lower our ethical standards over time through small changes in behavior.

Incrementalism หรือเรียกอีกอย่างว่า slippery slope อธิบายถึงกระบวนการที่พวกเราลดมาตรฐานทางจริยธรรมโดยไม่รู้ตัวตามกาลเวลา ผ่านการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ในพฤติกรรม

5) ต้นฉบับ

https://ethicsunwrapped.utexas.edu/case-study/fbi-apple-security-vs-privacy