Home / จริยธรรมทางสารสนเทศ - Snowden

จริยธรรมทางสารสนเทศ - Snowden

You are not logged in.

If you are a current student, please Log In for full access to this page.

ภาพจาก https://ethicsunwrapped.utexas.edu/case-study/edward-snowden-traitor-hero

Table of Contents

1) Edward Snowden: Traitor or Hero?

In 2013, computer expert and former CIA systems administrator, Edward Snowden released confidential government documents to the press about the existence of government surveillance programs. According to many legal experts, and the U.S. government, his actions violated the Espionage Act of 1917, which identified the leak of state secrets as an act of treason. Yet despite the fact that he broke the law, Snowden argued that he had a moral obligation to act. He gave a justification for his “whistleblowing” by stating that he had a duty “to inform the public as to that which is done in their name and that which is done against them.” According to Snowden, the government’s violation of privacy had to be exposed regardless of legality.

ในปี 2013 Edward Snowden ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และอดีตผู้ดูแลระบบ CIA ได้เผยแพร่เอกสารลับสำคัญของรัฐบาลต่อสื่อสาธารณะเกี่ยวกับการมีอยู่ของโปรแกรมเฝ้าระวังและสอดแนมของรัฐบาล จากมุมมองของหลายผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และรัฐบาลสหรัฐอเมริกา การกระทำของ Snowden ละเมิดกฏหมายจารกรรม Espionage Act of 1917 ซึ่งระบุว่าการเผยแพร่ความลับของรัฐเป็นการกระทำของกบฏ แต่ถึงแม้ว่าเขาจะได้ละเมิดกฏหมาย Snowden อ้างว่าเขาต้องปฏิบัติตามหลักจริยกรรม โดยให้เหตุผลสำหรับการ "เป่านกหวีด (whistleblowing)" ของเขาว่า เป็นหน้าที่ "เพื่อให้ข้อมูลแก่สาธารณะว่าสิ่งใดได้ถูกกระทำในชื่อพวกเขา และสิ่งใดได้ถูกกระทำเพื่อต่อต้านพวกเขา" จากมุมมองของ Snowden การละเมิดความเป็นส่วนตัวของรัฐบาลควรถูกเปิดเผย ถึงแม้จะขัดกับกฎหมายก็ตาม

Many agreed with Snowden. Jesselyn Radack of the Government Accountability Project defended his actions as ethical, arguing that he acted from a sense of public good. Radack said, “Snowden may have violated a secrecy agreement, which is not a loyalty oath but a contract, and a less important one than the social contract a democracy has with its citizenry.” Others argued that even if he was legally culpable, he was not ethically culpable because the law itself was unjust and unconstitutional.

หลายคนเห็นด้วยกับ Snowden โดย Jesselyn Radack ผู้อยู่ในโครงการ Government Accountability Project ปกป้องการกระทำของ Snowden ว่าถูกจริยธรรม โดยอ้างว่าเขากระทำเพื่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะ พร้อมกล่าวว่า "Snowden อาจละเมิดข้อตกลงความลับ ซึ่งมิใช่คำสาบานความจงรักภักดีแต่เป็นข้อสัญญาเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญน้อยกว่าข้อสัญญาทางสังคมที่ประชาธิปไตยมีต่อประชาชน"

The Attorney General of the United States, Eric Holder, did not find Snowden’s rationale convincing. Holder stated, “He broke the law. He caused harm to our national security and I think that he has to be held accountable for his actions.”

อัยการสูงสุดของประเทศสหรัฐอเมริกา Eric Holder ไม่เห็นด้วยกับตรรกะของ Snowden พร้อมกล่าวว่า "เขาละเมิดกฏหมาย เขาสร้างความเสียหายแก่ความปลอดภัยของประเทศ และผมคิดว่าเขาต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของเขา"

Journalists were conflicted about the ethical implications of Snowden’s actions. The editorial board of The New York Times stated, “He may have committed a crime…but he has done his country a great service.” In an Op-ed in the same newspaper, Ed Morrissey argued that Snowden was not a hero, but a criminal: “by leaking information about the behavior rather than reporting it through legal channels, Snowden chose to break the law.” According to Morrissey, Snowden should be prosecuted for his actions, arguing that his actions broke a law “intended to keep legitimate national-security data and assets safe from our enemies; it is intended to keep Americans safe.”

นักข่าวหลายสำนักมีข้อขัดแย้งในการตีความหมายทางจริยธรรมของการกระทำของ Snowden บรรณาธิการของสำนักพิมพ์ The New York Times กล่าวว่า "เขาอาจได้ก่ออาชญากรรมขึ้น แต่เขาก็สร้างคุณประโยชน์ใหญ่แก่ประเทศ" แต่ใน Op-ed (บทความเห็นพิเศษ) จากหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันนั้น Ed Morrissey อ้างว่า Snowden ไม่ใช่ฮีโร่ แต่เป็นอาชญากร: "ด้วยการแพร่ข้อมูลลับในประเด็นเกี่ยวกับพฤติกรรม ซึ่งแทนที่จะแจ้งข้อมูลผ่านช่องทางที่ถูกต้อง Snowden กลับเลือกที่จะละเมิดกฎหมาย" Morrissey เห็นว่า Snowden ควรถูกลงโทษจากการกระทำที่ละเมิดกฎหมายซึ่ง "ตั้งใจให้รักษาข้อมูลและทรัพย์สินความปลอดภัยระดับชาติให้ปลอดภัยจากศัตรู โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาความปลอดภัยของชาวอเมริกา"

2) คำถามอภิปราย

  1. What values are in conflict in this case? What harm did Snowden cause? What benefits did his actions bring?
  2. Do you agree that Snowden’s actions were ethically justified even if legally prohibited? Why or why not? Make an argument by weighing the competing values in this case.
  3. If you were in Snowden’s position, what would you have done and why?
  4. Would you change your position if you knew that Snowden’s leak would lead to a loss of life among CIA operatives? What about if it would save lives?
  5. Is there a circumstance in which you think whistleblowing would be ethically ideal? How about ethically prohibited?

  1. คุณค่าใดในกรณีนี้ที่มีความขัดแย้งกัน? Snowden สร้างความเสียหายอย่างไร? แล้วเขาสร้างประโยชน์อะไรจากการกระทำของเขา?

  2. คุณเห็นด้วยหรือไม่ว่า การกระทำของ Snowden นั้นถูกต้องตามหลักจริยธรรม ถึงแม้จะขัดกับข้อกฎหมายก็ตาม? เพราะอะไร? อ้างเหตุผลโดยให้น้ำหนักแก่คุณค่าต่าง ๆ ในกรณีนี้

  3. หากคุณอยู่ในสถานการณ์เดียวกับ Snowden แล้ว คุณจะตัดสินใจทำอะไร เพราะเหตุใด?

  4. คุณจะเปลี่ยนการตัดสินใจของคุณหรือไม่ หากการปล่อยข้อมูลของ Snowden จะทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตในหน่วย CIA ? แล้วจะเป็นเช่นไรหากมันสามารถรักษาชีวิตได้แทน?

  5. สถานการณ์ใดบ้างที่คุณคิดว่า "การเป่านกหวีด" (whistleblowing) จะเป็นการกระทำที่ถูกจริยธรรม? และสถานการณ์ใดบ้างที่ผิดจริยธรรมอย่างแน่นอน?

3) วิดีโอที่เกี่ยวข้อง

Causing Harm

Causing harm explores the different types of harm that may be caused to people or groups and the potential reasons we may have for justifying these harms.

การก่ออันตรายพิจารณาถึงอันตรายในรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อบุคคลหรือกลุ่ม รวมถึงเหตุผลที่เป็นไปได้ที่จะแสดงเหตุผลอันควรสำหรับอันตรายเหล่านั้น

4) ต้นฉบับ

https://ethicsunwrapped.utexas.edu/case-study/edward-snowden-traitor-hero

5) เพิ่มเติม

กรณีศึกษา FBI vs Apple